Custom Search
 


เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ.เมือง จ.สตูล

(ดูภาพด้านล่าง)



     เมื่อครั้งอดีต “เกาะตะรุเตา” เคยเป็นที่รู้จักกันในฐานะของ “คุกนรก” และแหล่งซ่องสุมของ “โจรสลัดตะรุเตา” ผู้ดุร้ายโหดเหี้ยม แต่ปัจจุบันเกาะแห่งนี้รวมถึงเกาะอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ความอุดมสมบูรณ์และความงดงามของสภาพธรรมชาติต่างๆ โดยรอบเขตพื้นที่ “อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ.เมือง จ.สตูล” นั้นถึงกับทำให้นักท่องเที่ยวบางคนขนานนามหมู่เกาะแห่งนี้ว่าเป็น “มัลดีฟส์ (Maldives) แห่งเมืองไทย” เลยทีเดียว



เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

...................................เรือน้อยลอยลำ ในลำคลอง...................................
(ถ่ายภาพบริเวณ "ท่าเทียบเรือปากคลองพันเตมะละกา" ประตูสู่ "เกาะตะรุเตา")



     ตะรุเตา” เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายูซึ่งมีความหมายว่า “มีอ่าวมาก”  เกาะตะรุเตาและเกาะอื่นๆ ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงรวมทั้งหมด 51 เกาะได้รับการประกาศให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2517 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 8 ของประเทศไทย ประกอบไปด้วยเกาะขนาดใหญ่ซึ่งมีความสำคัญและเป็นที่รู้จักอยู่หลายเกาะ อาทิเช่น เกาะตะรุเตา , เกาะไข่ , เกาะอาดัง , เกาะราวี , เกาะหลีเป๊ะ เป็นต้น ในครั้งนี้ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) จะขออาสาพาท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านไปทำความรู้จักกับเกาะสำคัญๆ แต่ละแห่งกันแบบเจาะลึก โดยเริ่มต้นจากข้อมูลประวัติความเป็นมารวมถึงข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวโดดเด่นรอบๆ “เกาะตะรุเตา” ก่อนเป็นลำดับแรก



ท่าเทียบเรือ ปากคลองอ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ท่าเทียบเรือ ปากคลองอ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

ท่าเทียบเรือ "ปากคลองพันเตมะละกา" ในวันฟ้าใส


ท่าเทียบเรือ ปากคลองอ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ท่าเทียบเรือ ปากคลองอ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

ใครจะขึ้น "เกาะตะรุเตา" เขาก็ต้องมาที่นี่กันทั้งนั้นแหละ




     คุกนรกเกาะตะรุเตา

     บริเวณ “หมู่เกาะตะรุเตาลังกาวี (หมู่เกาะลังกาวีอยู่ในเขตประเทศมาเลเซียครับ)” เริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะของเส้นทางเดินเรือข้ามมหาสมุทรมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 เมื่อชาวฮินดูพวกแรกได้อพยพจากประเทศอินเดียผ่านทางประเทศพม่าและประเทศไทยไปยังประเทศอินโดนีเซีย ตามตำนานเก่าแก่ของชาวเรือเล่าขานกันว่า “เกาะตะรุเตา” มีอาถรรพ์ ผู้ใดซึ่งหาญกล้าเดินทางเข้าไปภายในป่าทึบสีเขียวชอุ่มที่มีอยู่อย่างหนาแน่นบนเกาะแห่งนี้จะไม่มีโอกาสได้กลับออกมาอีก และผู้ที่พักอาศัยอยู่ตามอ่าวต่างๆ ของเกาะตะรุเตาเป็นระยะเวลานานจะต้องตกเป็นเหยื่อของความหนาวเย็น การจับไข้ อาการเพ้อ หรือแม้กระทั่งความตาย



เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

ดอกผักบุ้งทะเล , พระบรมราชานุสาวรีย์ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
, ศาลเจ้าพ่อตะรุเตา และ เปลือกหอยบริเวณลานหน้าอาคารนิทรรศการฯ

         
อาคารนิทรรศการ เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

อาคารนิทรรศการ "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา"
อยู่ลึกเข้าไปจากชายหาดอ่าวพันเตมะละกาไม่เกิน 150 เมตร


      

     เนื่องจากเกาะตะรุเตาเป็นเกาะซึ่งตั้งอยู่กลางท้องทะเลลึกห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ คลื่นลมในฤดูมรสุมรุนแรง อีกทั้งยังชุกชุมไปด้วยจระเข้และฉลาม เกาะแห่งนี้จึงได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลไทยให้ใช้เป็นสถานที่กักกันนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ รวมถึงนักโทษการเมืองต่างๆ โดยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 กลุ่มบุกเบิกของกรมราชทัณฑ์ได้ขึ้นสำรวจเกาะตะรุเตาบริเวณ “อ่าวตะโละอุดัง” และ “อ่าวตะโละวาว” เพื่อเตรียมการจัดทำเป็นทัณฑสถาน จวบจนกระทั่งเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2481 นักโทษรุ่นแรกจึงได้ถูกส่งมายังเกาะแห่งนี้


           
อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา 

สะพานท่าเทียบเรือ "อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา"
เปิดให้เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ใช้เฉพาะในช่วงฤดูมรสุม




    
นักโทษภายในทัณฑสถานเกาะตะรุเตาจะถูกกักกันแบ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ “กลุ่มนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ทั่วไป” และ “กลุ่มนักโทษการเมือง” โดยกลุ่มนักโทษคดีอุกฉรรจ์ทั่วไปจะถูกใช้งานอย่างหนักและได้รับการลงโทษอย่างรุนแรงหากกระทำผิดต่อข้อกำหนดต่างๆ ของทัณฑสถาน ส่วนกลุ่มนักโทษการเมืองนั้นจะได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพมากกว่ากลุ่มนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ทั่วไป เนื่องจากถือว่ากลุ่มนักโทษการเมืองเป็นกลุ่มนักโทษที่มีความรู้สูง



อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ตึกแดง อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

เรือนพักนักโทษ , รูปปั้นผู้คุม , เส้นทางเดิน และ ตึกแดง


อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา


....................ผืนป่าอาถรรพ์....................




     การรักษาพยาบาลนักโทษที่เจ็บป่วยในทัณฑสถานเกาะตะรุเตานั้นไม่มีการคิดค่าใช้จ่าย แต่ก็ยังมีเจ้าหน้าที่พยาบาลบางคนแสวงหาผลประโยชน์ขูดรีดเงินทองและทรัพย์สินจากนักโทษด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จะคัดชื่อออกจากโรงพยาบาลเพื่อให้ออกไปทำงานหนักหากผู้ป่วยไม่ยอมมอบทรัพย์สินให้ตามความต้องการ , เปลี่ยนเสื้อผ้าดีๆ ของนักโทษที่ป่วยมาเป็นของตน หรือในกรณีที่มีนักโทษเลี่ยมฟันทองเสียชีวิตก็จะถูกงัดปากและถอนฟันทองออกจนหมด บางครั้งผู้ป่วยยังไม่ทันสิ้นใจก็แย่งกันช่วงชิงเสื้อผ้าหรืองัดเอาฟันทองกันจนผู้ป่วยต้องตายไป นักโทษบางคนต้องการอยู่ในสภาพผู้ป่วยนานๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องออกไปทำงานหนักจึงไม่ยอมรักษาตนเองให้หาย คนที่เป็นแผลก็จะพยายามทำให้แผลเปื่อยขยายออกไปอีก




อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

ประติมากรรมนักโทษหน้าโฉด กับ เรือนพักเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานเกาะตะรุเตา



     กลางปี พ.ศ. 2486 เกิดไข้มาลาเรียระบาดอย่างรุนแรงภายในทัณฑสถานเกาะตะรุเตา เจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้เนื่องจากขาดแคลนแพทย์และยารักษาโรค ทำให้มีนักโทษตายจากไข้มาลาเรียไม่ต่ำกว่าวันละ 5 – 6 คน ปลายปี พ.ศ. 2486 มีจำนวนนักโทษล้มตายสะสมจากไข้มาลาเรียกว่า 700 คน เจ้าหน้าที่จะห่อศพนักโทษที่เสียชีวิตด้วยผ้าหรือเสื่อแล้วนำไปฝังยังป่าช้าพร้อมแทงจำหน่ายออกจากทะเบียนนักโทษโดยไม่ได้แจ้งให้ญาติผู้เสียชีวิตรับรู้

                  
อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

ตึกแดง , สะพานท่าเทียบเรือเก่า และ ซากรถเข็นวัสดุก่อสร้าง


อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

ส่วนหนึ่งของความน่าพรั่นพรึงจากกาลก่อน



     สภาพแวดล้อมอันโหดร้ายทารุณและเหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นภายในทัณฑสถานเกาะตะรุเตานี่เองที่ทำให้ทัณฑสถานแห่งนี้ได้รับสมญานามอีกอย่างหนึ่งว่า “คุกนรกเกาะตะรุเตา


     ดินแดนแห่งโจรสลัด

     จาก “สงครามมหาเอเชียบูรพา” ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2484 – 2488 ทำให้การคมนาคมระหว่างเกาะตะรุเตาและแผ่นดินใหญ่ถูกตัดขาด เกิดปัญหาขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคภายในทัณฑสถานอย่างรุนแรง จวบจนต้นปี พ.ศ. 2487 พัศดี , ผู้คุม และนักโทษจึงได้ร่วมมือกันเข้าปล้นสะดมเรือบรรทุกสินค้าที่แล่นผ่านไปมาระหว่างปีนัง , ลังกาวี , กันตัง และพม่า เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เองที่ถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของตำนาน “โจรสลัดเกาะตะรุเตา



อาคารนิทรรศการ อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อาคารนิทรรศการ อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อาคารนิทรรศการ อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อาคารนิทรรศการ อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา

ภายในอาคารนิทรรศการฯ อ่าวพันเตมะละกา จัดแสดงประวัติความเป็นมา
ภาพเขียน ภาพถ่าย และ บทบรรยายความรู้เกี่ยวต่าง ๆ เกี่ยวกับ "อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา"


อาคารนิทรรศการ อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อาคารนิทรรศการ อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อาคารนิทรรศการ อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อาคารนิทรรศการ อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา

...............รอยรำลึกถึงดินแดนแห่งโจรสลัด...............


   
     ในระยะแรกการปล้นสะดมของโจรสลัดเกาะตะรุเตาเป็นการปล้นที่ไม่ทำร้ายเจ้าทรัพย์ เพียงแต่บังคับให้เรือหยุด ใช้อาวุธข่มขู่ ต้อนลูกเรือมัดรวมกันในห้องใต้ท้องเรือ บังคับกัปตันเรือให้ถือท้ายเรือมุ่งหน้าไปยังจุดหมายที่โจรสลัดต้องการ แล้วจึงขนสินค้าซุกซ่อนไว้ตามเกาะเล็กเกาะน้อยต่างๆ จากนั้นจึงนำเรือไปปล่อยยังจุดที่สามารถหลบหนีได้อย่างปลอดภัย ต่อมาภายหลังมีผู้เข้าร่วมกลุ่มโจรสลัดเกาะตะรุเตามากขึ้นทำให้การปล้นสะดมแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางและมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เจ้าทรัพย์ถูกฆ่า เรือถูกทำลายด้วยการเจาะให้จมหรือเผาทิ้ง สร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้ควบคุมเรือสินค้าที่จำเป็นต้องแล่นผ่านน่านน้ำรอบๆ บริเวณเกาะตะรุเตาเป็นอย่างยิ่ง การปล้นสะดมของโจรสลัดเกาะตะรุเตาในระยะหลังนี้มีการเตรียมการออกปล้นอย่างเปิดเผยบนเกาะ สินค้าที่ได้จากการปล้นมีการลำเลียงไปไว้ยังเรือนพัสดุของทัณฑสถาน ในบางครั้งถึงกับนำเรือสินค้าที่ปล้นได้เข้ามาจอดเทียบท่าบริเวณสะพานขึ้นเกาะ ถือเป็นการกระทำอันอุกอาจปราศจากความหวั่นเกรงต่อกฎหมายบ้านเมืองอย่างยิ่ง



เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา


น้ำทะเลที่ "เกาะตะรุเตา" แห่งนี้ก็ใสแทบไม่แพ้ที่ใดๆ ในประเทศไทยเลยนะ




     การปล้นสะดมของโจรสลัดเกาะตะรุเตาส่งผลกระทบต่อสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปีนังอย่างหนัก ทำให้ข้าวสารขาดแคลน สินค้าอื่นๆ มีราคาเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว จนมีการร้องเรียนให้รัฐบาลจัดเรือยนต์ลาดตระเวน อนุญาตให้เรือสินค้าติดอาวุธ และขอสนับสนุนการจัดเรือยนต์เพื่อป้องกันเรือสินค้า ต่อมาในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2489 ทางรัฐบาลไทยตัดสินใจยินยอมให้ทหารอังกฤษจำนวน 300 นาย ยกพลขึ้นบกที่ “อ่าวตะโละวาว” เพื่อเข้าปราบปรามโจรสลัดบนเกาะตะรุเตาและสามารถดำเนินการได้สำเร็จ เป็นการปิดฉาก “ตำนานโจรสลัดแห่งเกาะตะรุเตา” อันน่าพรั่นพรึงลงในท้ายที่สุด


     จากทัณฑสถาน.....สู่.....อุทยานแห่งชาติ

     ในปี พ.ศ. 2491 กรมราชทัณฑ์ได้ประกาศยกเลิกการดำเนินการของทัณฑสถานเกาะตะรุเตา ส่งผลให้เกาะตะรุเตากลายเป็นเกาะร้าง เวลาต่อมามีประชาชนจากจังหวัดต่างๆ เข้ามาจับจองพื้นที่ทำกินบนเกาะและมีการตัดไม้ทำลายป่ากันอย่างมาก ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2517 จึงได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เกาะตะรุเตา , เกาะอาดัง , เกาะราวี และเกาะเล็กๆ อื่นๆ ในละแวกใกล้เคียงรวมถึงน่านน้ำโดยรอบบริเวณนี้เป็นเขต “อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา



เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

..........อดีตอันโหดร้ายกลับกลายเป็นความงดงามเกินบรรยายในปัจจุบัน..........


อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

อ่าวพันเตมะละกาที่ยาวไกลสุดสายตายามเพลากลางวัน



     
     ในปี พ.ศ. 2525 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตาได้รับการยกย่องจาก “องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO : United Nations Educational Scientific and Cultural Organization)” ให้เป็นมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves)


     มรดกแห่งท้องทะเลอันงดงาม

     อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตาประกอบไปด้วยเกาะใหญ่น้อยมากถึง 51 เกาะ มีเนื้อที่รวมประมาณ 1,490 ตารางกิโลเมตร สามารถจัดแบ่งออกเป็นหมู่เกาะใหญ่ๆ ได้ 3 หมู่เกาะ คือ “หมู่เกาะตะรุเตา” , “หมู่เกาะอาดัง – ราวี” และ "หมู่เกาะดง" โดยในบริเวณ "หมู่เกาะอาดัง – ราวี" และ "หมู่เกาะดง" นั้นจะมีความใสของน้ำทะเลรวมถึงมีความสวยงามของแนวปะการังมากกว่า "หมู่เกาะตะรุเตา" นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงนิยมที่จะเดินทางไปพักค้างแรมบน “เกาะหลีเป๊ะ” หรือ “เกาะอาดัง”  แล้วเช่าเหมาเรือ – ซื้อทัวร์ดำน้ำรอบๆ บริเวณหมู่เกาะในละแวกนั้นแทนที่จะเลือกพักค้างแรมบนเกาะตะรุเตา (“เกาะหลีเป๊ะ” ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของหมู่เกาะอาดัง – ราวีครับ)




อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

....................เมื่อสุริยาบอกลาผืนนภาลับลงสู่ห้วงมหาสมุทร....................
(ถ่ายภาพบริเวณ "ปากคลองพันเตมะละกา" และ "หน้าอ่าวพันเตมะละกา" เวลาเย็น)


เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

บรรยากาศ "เกาะตะรุเตา" ในแสงสุดท้ายของวันเก่า




     เกาะตะรุเตา” เป็นเกาะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา มีเนื้อที่ประมาณ 152 ตารางกิโลเมตร ด้วยสาเหตุที่ตัวเกาะตะรุเตามีขนาดใหญ่ประกอบกับมีนักท่องเที่ยวเลือกพักค้างแรมบนเกาะแห่งนี้เป็นจำนวนน้อย จึงทำให้บรรยากาศโดยรวมของเกาะตะรุเตาค่อนข้างเงียบสงบและมีความเป็นส่วนตัวสูง นับได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลซึ่งเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวผู้หลงใหลในเสน่ห์ของความวิเวกวังเวงเป็นอย่างยิ่ง

     โดยรอบบริเวณเกาะตะรุเตามีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจสำคัญๆ หลากหลายแห่งดังต่อไปนี้

     1.อ่าวตะโละวาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะตะรุเตา มีลักษณะเป็นหาดหินสลับกับป่าชายเลนไม่เหมาะแก่การลงเล่นน้ำ ด้านหน้าของอ่าวตะโละวาวมีสะพานท่าเทียบเรือซึ่งทอดยื่นยาวลงไปในท้องทะล สุดปลายสะพานท่าเทียบเรือด้านทิศเหนือมีภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่กลางผืนน้ำกว้าง ทิวทัศน์ของสะพานท่าเทียบเรือและภูเขาหินปูนลูกนี้ถือเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของอ่าวตะโละวาว



อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

"เกาะตะรุเตา" อดีตคุกนรก และ ดินแดนแห่งโจรสลัด

         
อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

มุมมองแบบกว้างไกลสุดสายตา ณ สะพานท่าเทียบเรืออ่าวตะโละวาว


      

     ในอดีตพื้นที่บริเวณอ่าวตะโละวาวเคยถูกใช้เป็นสถานกักกันนักโทษคดีอุกฉรรจ์ทั่วไป แต่ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพื้นที่บริเวณดังกล่าวนี้ให้กลายเป็นเส้นทางศึกษาประวัติศาสตร์ รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตาที่ ตต.1 (อ่าวตะโละวาว) ด้วย


           
ท่าเทียบเรืออ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา


มาดูภาพถ่ายในมุมสูงๆ ของสะพานท่าเทียบเรือ "อ่าวตะโละวาว" กันบ้าง





    
เส้นทางศึกษาประวัติศาสตร์ตะโละวาวมีความยาวโดยประมาณ 1 – 2 กม. ใช้เวลาในการเดินเท้าไป – กลับเฉลี่ย 1 – 2 ชม. (นับจากจุดตั้งต้นบริเวณสะพานท่าเทียบเรือ) มีสถานที่น่าสนใจต่างๆ บนเส้นทางกลากหลายแห่ง เช่น ตึกแดง , สุสาน 700 ศพ , เรือนนอนนักโทษ , ฯลฯ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมายังสะพานท่าเทียบเรืออ่าวตะโละวาวได้โดยการเหมารถของอุทยานฯ มาจากที่ทำการกลางบริเวณ “อ่าวพันเตมะละกา” (สะพานท่าเทียบเรือบริเวณอ่าวตะโละวาวไม่อนุญาตให้เรือนำเที่ยวเข้าเทียบท่า แต่จะใช้เป็นจุดจอดเทียบเรือของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตาในช่วงฤดูมรสุมเท่านั้น กรณีที่นักท่องเที่ยวเลือกพักอยู่บริเวณอ่าวแห่งอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ “อ่าวพันเตมะละกา” สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ของทางอุทยานฯ ให้วิทยุเรียกรถมารับบริเวณอ่าวนั้นๆ ได้ครับ)



หอย อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา หอย อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา หอย อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

....................หอยตัวน้อยๆ หลากชนิด....................




     2.อ่าวพันเตมะละกา เป็นที่ตั้งของที่ทำการกลางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ ลักษณะหาดทรายสีขาวเนื้อเนียนละเอียดยาวประมาณ 1.5 กม. มีต้นสน , หูกวาง และ เตยทะเลขึ้นยืนต้นตระหง่านอยู่ตลอดแนวชายหาด อ่าวพันเตมะละกามีความลาดเอียงของพื้นทรายใต้ทะเลต่ำทำให้สามารถลงเล่นน้ำได้อย่างค่อนข้างปลอดภัย น้ำทะเลด้านหน้าอ่าวเป็นสีฟ้าใสสวยงาม ในยามเย็นหากคุณมีอารมณ์โรแมนติกมากพอก็อาจจะมานั่งรอชมพระอาทิตย์ลาลับหายไปจากเส้นขอบฟ้าด้านหน้าอ่าวพันเตมะละกาแห่งนี้ก็ได้



อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

ทิวทัศน์รอบๆ "อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา" อ.เมือง จ.สตูล


อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

กาลครั้งหนึ่ง ณ สถานที่ซึ่งฉันได้พบกับความสงบสุข


เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

หาดทราย ต้นไม้ กับ ลวดลายแห่งท้องทะเล



     
ผาโต๊ะบู” เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกในช่วงเวลาเย็นอีกแห่งหนึ่งซึ่งมีความสวยงามแปลกแตกต่างไปจากการนั่งชมพระอาทิตย์ตกบริเวณด้านหน้าอ่าวพันเตมะละกา เนื่องจากผาโต๊ะบูเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 60 เมตร ณ จุดชมทิวทัศน์แห่งนี้นักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็นอ่าวพันเตมะละกาเบื้องล่างได้ตลอดแนวความยาวทั้งอ่าวรวมทั้งยังสามารถมองเห็น “คลองพันเตมะละกา” ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือได้อีกด้วย เส้นทางเดินขึ้นสู่ผาโต๊ะบูตั้งอยู่ด้านหลังที่ทำการกลางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ใช้เวลาในการเดินเท้าเพียงแค่ 15 – 20 นาทีก็สามารถขึ้นไปถึงศาลาชมทิวทัศน์บริเวณยอดผาได้โดยไม่รู้สึกเหนื่อยสักเท่าไหร่นัก


ผาโต๊ะบู เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ผาโต๊ะบู เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ผาโต๊ะบู เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ผาโต๊ะบู เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

ขึ้น "ผาโต๊ะบู" เพื่อมาดู "อ่าวพันเตมะละกา - คลองพันเตมะละกา" ในมุมกว้าง
(ถ่ายภาพบนผาโต๊ะบูในยามเย็นขณะพระอาทิตย์ตกด้านหน้าอ่าวพันเตมะละกา)


ผาโต๊ะบู เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ผาโต๊ะบู เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

เส้นทางสูงชัน..........ต้องเหน็ดเหนื่อยพอสมควรเหมือนกันกว่าจะมาถึง




     บริเวณ “ปากคลองพันเตมะละกา” เป็นที่ตั้งของท่าเทียบเรือนำเที่ยว นักท่องเที่ยวทุกๆ คนซึ่งต้องการจะพักค้างแรมบนเกาะตะรุเตาจะถูกส่งขึ้นฝั่ง ณ ท่าเรือแห่งนี้ หากต้องการจะเช่าเหมาเรือไปดำน้ำตื้นรอบๆ เกาะตะรุเตา หรือจะเช่าเรือคายักพายไปยัง “ถ้ำจระเข้ ” ซึ่งตั้งอยู่สุดปลายคลองพันเตมะละกา ก็สามารถติดต่อได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ของอุทยานฯ บริเวณท่าเทียบเรือได้



เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

....................ช่วงเวลาอันน่าหลงใหล....................


เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา


.........................อารมณ์เปลี่ยว.........................


เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

เฝ้าสังเกตดวงอาทิตย์ตกจากหน้าปากคลองพันเตมะละกา กับ ยอดไม้บนผาโต๊ะบ




    จากข้อมูลที่ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.thongteaw.com) ได้ลองสอบถามกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ทำให้พวกเราได้ทราบว่า “ถ้ำจระเข้” เป็นถ้ำซึ่งมีหินงอกหินย้อยสวยงาม ตั้งอยู่ห่างจากปากคลองพันเตมะละกาประมาณ 2 กม. การเดินทางสู่ถ้ำจระเข้นั้นนอกเหนือจากการเช่าเรือคายักพายไปจอดยังทางเดินไม้บริเวณป่าโกงกางปากถ้ำแล้ว ยังสามารถเช่าเหมาเรือหางยาวของทางอุทยานฯ ให้ไปรับ – ส่งได้อีกด้วย น่าเสียดายที่ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมมีเวลาในการเก็บข้อมูลจำกัด พวกเราจึงไม่ได้แวะเที่ยวถ้ำจระเข้แห่งนี้



เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา 

....................ยามดวงอาทิตย์ใกล้ดับอับแสง....................

         
เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

สนธยาฟากฟ้าสีทอง กับ ต้นเตยทะเลที่ดูหม่นหมองในเวลาเย็น


      

      หากเดินพ้นจากสะพานท่าเทียบเรือเข้าไปเล็กน้อยก็จะพบกับอาคารหกเหลี่ยมสีน้ำตาลแดงหลังเล็กๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของถนน อาคารหลังนี้คือ “ศาลเจ้าพ่อตะรุเตา” นักท่องเที่ยวบางส่วนนิยมมากราบไหว้ขอพรให้ตนเอง เพื่อนพ้อง และครอบครัวเดินทางท่องเที่ยวโดยสวัสดิภาพ เมื่อเดินลึกเข้าไประหว่างทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตามุ่งหน้าสู่บริเวณเรือนพักนักท่องเที่ยวจะได้พบกับ “อาคารแสดงนิทรรศการ” ซึ่งมีการจัดแสดงภาพถ่าย ภาพวาด ซากสัตว์ ข้อมูลความรู้สภาพทางธรรมชาติโดยรวมของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา รวมถึงยังได้มีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ของนักโทษที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของทัณฑสถานเกาะตะรุเตาเอาไว้ด้วย นักท่องเที่ยวซึ่งต้องการจะทำความรู้จักกับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตาอย่างลึกซึ้งแนะนำว่าควรแวะมาเยี่ยมชมการจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารหลังนี้


           
ศาลเจ้าพ่อตะรุเตา ลิงแสม เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

"ศาลเจ้าพ่อตะรุเตา" กับ ลิงแสม




    
ลิงแสม” เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปรอบๆ บริเวณอ่าวพันเตมะละกา แต่ลิงแสมบนเกาะตะรุเตานี้เป็นลิงป่าที่มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย แนะนำว่านักท่องเที่ยวไม่ควรให้อาหารลิงอย่างเด็ดขาดและต้องใช้ความระมัดระวังในการพกพาอาหารเดินไปเดินมาระหว่างเรือนพักกับสถานที่แห่งอื่นๆ เพราะอาจถูกลิงแย่งอาหารหรือกัดเอาได้



เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

ความแตกต่างระหว่างห้วงเวลา ณ อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา


เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา

สีสัน ตัด ขัดแย้ง...............แต่แฝงไว้ด้วยความงดงาม




     นอกจากลิงแสมแล้วในช่วงเวลาเช้าตรู่และช่วงเวลาเย็นมักจะพบเห็นฝูง “นกเงือก” บินร่อนลงมาเดินหากินบริเวณรอบๆ โรงอาหารของทางอุทยานฯ อยู่เสมอๆ




อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา หน้า 1 2






 


แผนผังเว็บไซต์ (Site Map)


บทความและภาพทุกภาพภายในเว็บไซต์หน้านี้เป็นลิขสิทธิ์ของท่องเที่ยวดอทคอม
(www.Thongteaw.com)
หากผู้ใดทำการคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไขหรือนำไปใช้ในกรณีใด ๆ
โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางทีมงาน
จะถูกดำเนินการทางกฎหมายขั้นเด็ดขาด


Copy right © Since 2008 by Thongteaw.com - All Rights Reserved
เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็คโทรนิคส์ 3102201494154